โครงสร้างของ Xcode IDE และ ไฟล์ที่ได้จากการ Create Project บน Xcode (iOS, iPhone, iPad)
|
|
|
|
|
|
![](https://lh3.googleusercontent.com/blogger_img_proxy/AEn0k_vSp1PS-KqaRFDLHxg5naqNCeo7bNcPS3qEpLmSkevyTP1jTu7UxELRgHLjfSaaopHiMimpsYxp3N1RP23daOlOOaz4JQczB0FpaT37Oa4N2ScfUZvQLAe7vQQ=s0-d) |
ขับเคลื่อนโดย แปลภาษา
|
|
|
| | | |
|
โครงสร้างของ Xcode IDE และ ไฟล์ที่ได้จากการ Create Project บน Xcode (iOS, iPhone, iPad) ในการเริ่มเขียนโปรแกรมบน iPhone และ iPad ด้วย Tools ของ Xcode IDE ครั้งแรกถ้าเรายังไม่เคยเขียนมาก่อนนั้น อาจจะงงและสับสนกับหน้าตาของมัน เพราะมันจะประกอบด้วยหลาย ๆ ส่วน และ Item ไว้สำหรับปรับแต่ง Project อีกมากมาย หลาย ๆ คนถึงกับสับสัน ไม่รู้จะทำอะไรต่อ คลิกไป คลิกมา แสดงนู้น แสดงนี่ ประกอบกับงงว่าใน Project มีไฟล์หรือโฟเดอร์อะไรต่อมิอะไรไม่รู้ ที่ถูกสร้างมาให้อัตโนมัติ สุดท้ายก็ไม่รู้จะทำอะไร ก็ปิดหน้าจอไป
แต่อันที่จริงแล้วนั้นถ้าเราสนใจที่จะดู และเข้าใจโครงสร้างของมันแล้ว โครงสร้างต่าง ๆ เหล่านี้ได้ถูกออกแบบและวางไว้อย่างสมบูรณ์ เพื่อให้นักพัฒนาสะดวกในการออกแบบ Interface และเขียน Coding ต่าง ๆ และโครงสร้างต่าง ๆ เหล่านี้ก็แทบจะไม่มีอะไรที่แตกต่างไปจากการเขียนโปรแกรมในรูปแบบอื่น ๆ เช่น Visual Studio หรือ Eclipse ก็ใช้รูปแบบการวาง Tools ไว้ในรูปแบบเดียวกันทั้งสิ้น
เรามาดูโครงสร้างต่าง ๆ ของ Xcode และ Project
![Xcode IDE Structure (iOS) Xcode IDE Structure (iOS)](https://lh3.googleusercontent.com/blogger_img_proxy/AEn0k_uVVoYAeyArcblfGH3ZK9Tb9zEUdB7IJEFA-EZ3iaurgjXAEn4tUvI78kmV1SA6MYL9jYqjV2wN0HEp_O3pi4eqjnqabTpEExiVCJCutboCcgocMYulzoKKPkN5OtkzJGkSUH1uw2SmImVx6DKJNXkjD7x4=s0-d)
เริ่มต้นในการสร้าง Project บน iOS
![Xcode IDE Structure (iOS) Xcode IDE Structure (iOS)](https://lh3.googleusercontent.com/blogger_img_proxy/AEn0k_ulJvCm166XRUKyIjxV6o5rwQzLXn9yPH9J--6xgP6wHbFi6HC3ByWn7kGXsM0B6GUu1tnbxxKf8bPzUOfsPyn7sGOSJJ-uazdOKA82C_493RGquK7gjkaaaOw9hPQkZso_ydqxl2oefzlQmxMkVFz0ZBYc=s0-d)
เลือก Single View Application
![Xcode IDE Structure (iOS) Xcode IDE Structure (iOS)](https://lh3.googleusercontent.com/blogger_img_proxy/AEn0k_uK67jF7N5ULdqEw2pAjGPwKDh4-nfX1WaaVzhDsegHjrCzCfLmUoRg2dY0ZZhk16V0iWZHBo1rvN4LgQh-0CEV9bfgDfDfNKFo-k3AhFP8GEEAH72jEeq7cMaD3f7PxMUVvTxhfCk30HZqaMZJMJVaypI=s0-d)
ตั้งชื่อ Project เลือก Application บน iPhone
![Xcode IDE Structure (iOS) Xcode IDE Structure (iOS)](https://lh3.googleusercontent.com/blogger_img_proxy/AEn0k_usoQuNGhO_EOmno-2Z3Qc0Ci9zhJEActTlF3kyqmXWlrqgNS-qQo3hamUz9sr-VdmTydynI9dvUqs49aMcZQTboMeU1nADSQYNEgeI4otPIH56N-2uWdEOiK2uhMYRFPHTdj0HBlNReTgNN2uujoSqmJK3=s0-d)
เลือกโฟเดอร์ที่จะจัดเก็บโครงสร้างของไฟล์ หรือในกรณีที่ต้องการสร้างโฟเดอร์ใหม่ ให้คลิกที่ New Folder
![Xcode IDE Structure (iOS) Xcode IDE Structure (iOS)](https://lh3.googleusercontent.com/blogger_img_proxy/AEn0k_s68AKYHSorYNtrZi5ivsZTxmRa6oUdI3VxJ_xBUYvUivjfgbozR00lE3A4XuWcv3iycjl5uLBJapDbN300W3bvHg2w8081ibbowMwhOvy1Plwx38bzT2zsJv9ZdHLmul0K5dtlpjlFXuNBUj5bOHO993M=s0-d)
สร้างโฟเดอร์ใหม่ตามตำแหน่งที่ต้องการ
![Xcode IDE Structure (iOS) Xcode IDE Structure (iOS)](https://lh3.googleusercontent.com/blogger_img_proxy/AEn0k_tcK84K5e6p3vamTwfwvKYMEUzk7Bmh09e3FCbjSsD8YZPD4_jgtuaA0YpDel3ujvrJVQK_ioBEeI9to0ZjdSDpqYpB2co60xhLznyjeawhadFF6_r8Ub7X7J1IqYB75PcfSu15wqeQ4owZqRvF-WtlmQGV=s0-d)
เลือกสร้าง Project โดยคลิกที่ Create
![Xcode IDE Structure (iOS) Xcode IDE Structure (iOS)](https://lh3.googleusercontent.com/blogger_img_proxy/AEn0k_tSJtB-6DJklIT8eZhoC1Q3p8euI9OFPJRSXJed7kSbUjwKzxSLcKyUCxaXTSLzONov7lXDs82bWKSPNV7-XkRTkvIvvk7B8W0-MQEcyVJQKVYZXUAun64yuqeDXJsqMD8-y7-nkszd5D0ltxqF2uBHFoLo=s0-d)
หลังจากรอซะครู่โปรแกรมจะแสดงหน้าแรกของ Project ซึ่งจะแสดงรายละเอียดต่าง ๆ ของ Project เช่น ชื่อ Project รุ่นของ iOS และ Version ของ Project
จากนั้นให้คลิกที่ไฟล์ .xib ที่ไฟล์ใดไฟล์หนึ่ง เราจะได้โครงสร้างดังรูป
![Xcode IDE Structure (iOS) Xcode IDE Structure (iOS)](https://lh3.googleusercontent.com/blogger_img_proxy/AEn0k_sM1_hFnLDTUw4ir9kaFVDNMAic-XryPkNjseK6gj4ekios6d5Jh1bzxQRP7lkuLG7fRtNyPF6BUi0eTGkq6nq1_90aOUb4CbwXqBzYvsxH8-3VvOBisGkaIuH8sjje4LqmaoJbYjIJTm5wWPkoYtCSxdFf=s0-d)
โครงสร้างของตำแหน่งต่าง ๆ
1. Navigator area เป็นส่วนของแสดงโครางสร้างของไฟล์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องใน Project (สำหรับความหมายของไฟล์ ในย่อหน้าถัดไป)
2. Object View เป็นส่วนของรายการ Object ต่าง ๆ โดยหน้าจอหลักของ iPhone Designที่เป็นหมายเลข (8) เรียกว่า View ซึ่งจะแสดงรายการ Object ต่าง ๆ บนหน้าจอ App ในตำแหน่งที่ (2)
3. Editor View เป็นส่วนที่ใช้สำหรับควบคุมมุมมองการแสดง Code ต่าง ๆ เช่น แสดงไฟล์ที่เป็น .m คู่กับ .h
4. Utility View เป็นส่วนของโปรแกรมที่ใช้สำหรับควบคุมการแสดงผลของ Tools เช่น ปุ่มแรกซะซ่อนแสดง ตำแหน่ง (1,2) ปุ่มสองจะซ่อนแสดง ตำแหน่ง (7) และปุ่มสามจะซ่อนแสดง (5,6) ลองทดสอบคลิกดูก็ได้ จะได้เห็นผลและมุมมองการแสดงผล
5. Inspector Property and Attribute เป็นส่วนของโปรแกรมที่จะใช้กำหนดคุณสมบัติต่าง ๆ ของ Object เช่น กรณีที่ใช้ Label ก็จะเป็นการปรับแต่งแก้ไข ข้อความ , Font และ สี และอื่น ๆ เปรียบเทียบได้กับ Properties บน Visual Studio
6. Object Library เป็นรายการ Object Library ที่จะใช้ในการออกแบบหน้าจอ Interface เปรียบเทียบได้กับ Label , Button , Textbox และอื่น ๆ ซึ่งObject Library ของ Xcode สำหรับเขียน iPhone และ iPad ทีอยู่มากกว่า 40 ตัว
7. Debug Area เป็นส่วนของโปรแกรมที่แสดงรายละเอียดการทำงานในขณะที่โปรแกรมกำลัง Run หรือ Debug บน iOS Simulator โดยจะแสดงError Message หรือ Log Event ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น
8. UI User Interface เป็น User Interface ของไฟล์ .xib ซึ่งตัวนี้เรียกว่า View ไว้ออกแบบหน้าจอ เปรียบเทียบได้กับ Form หรือ Page ในภาษาอื่น ๆ
9. Run/Stop Simulator เป็นส่วนของโปรแกรมใช้สำหรับสั่งให้ Run หรือ Stop ทดสอบการทำงานบน Simulator
![Xcode IDE Structure (iOS) Xcode IDE Structure (iOS)](https://lh3.googleusercontent.com/blogger_img_proxy/AEn0k_t_4pC26NLpnNG1sLUCsW1xxdhexRuoENTJ6ZPVhfuMpC1Q3r6_kK1Nezpc4QgkCZJy9GCWCizOdVcbDpqWBNUHa3DwoCuXJWq-r1vRbwhzy-CO9lCfL54CyUUKW5vIJ2_pwcvqk9GGDeDtabxvza6zs5M=s0-d)
ทดสอบการคลิก ในตำแหน่ง Utility View เพื่อซ่อนและแสดง ตำแหน่งของ Tools ดูภาพประกอบ
![Xcode IDE Structure (iOS) Xcode IDE Structure (iOS)](https://lh3.googleusercontent.com/blogger_img_proxy/AEn0k_tkEiTlQX17Qp2dUkSklCAq_QCs8X5WpTUDJgGcKOxBaSy4UhsTL4GnERQj17COhK_ndYHj087qo8AEdOKDdJSgJ09KOzptT9eNcE4ANDBlnFfZwdbHyyIjNlKy1H53SRi9pbgRMF1P2vSjcUbMabgnOsWQ=s0-d)
Editor View แสดงรูปแบบมุมมองของ Coding ของไฟล์ .m และ .h
![Xcode IDE Structure (iOS) Xcode IDE Structure (iOS)](https://lh3.googleusercontent.com/blogger_img_proxy/AEn0k_vH4HM2pX3XRCANqkdORlHoXb2v1HyJ3o-Ro0clA1j3eClVh0ELouLA7IV3YMA_drJfEz7op_7fJYLQDs9L1W8R5f2lHZ4IhwxgLohS3ifBCsNk8QwQXs90JXAlutUkJ78VbecA8grgxCSc7FRwxzThHaiw=s0-d)
ในส่วนนี้เรียกว่า Navigator Bar ใช้ดูมุมมองไฟล์ต่าง ๆ ของ Project
![Xcode IDE Structure (iOS) Xcode IDE Structure (iOS)](https://lh3.googleusercontent.com/blogger_img_proxy/AEn0k_ut7HAL5pk0yu7b5FMIHtlAe-o2TcntKUwFZ9RpGAkS-5Pq9drtzn2C_JOMlkE5VWnl6p_zR2A4BcjY4tSc08A52DM8SNkKT2cy0u3pdVKAcOgWZWWeTXMpJWvCptu-2uskuErNiszZgnCzl8g73shKjmPd=s0-d)
มุมมองในรูปแบบต่าง ๆ
โครงสร้างของไฟล์ ในการสร้าง Application ของ iPhone และ iPad บน Xcode จะเห็นว่าจะมีการสร้างไฟล์ต่าง ๆ มาให้อัตโนมัติ ซึ่งไฟล์ต่าง ๆ เหล่านี้ถ้าเรายังไม่เคยศึกษาและเข้าใจ Objective-C มาก่อนแล้ว ก็อาจจะงงอยู่ไม่น้อยเลยทีเดียว แต่อันที่จริงแล้ว มีตัวที่เราสนใจอยู่แค่ 2-3 ตัวเท่านั้น
![Xcode IDE Structure (iOS) Xcode IDE Structure (iOS)](https://lh3.googleusercontent.com/blogger_img_proxy/AEn0k_taXEaEMEAbbtGznV49I3Qq5jj7O2vo7da9G5Nlh6n9173b04VVQZjmzu90SPOYF9JiazKTkXQYGtxpLWsWpaZtYZFZ5WiCzxLfC5i6gmceamCCZz-tXB2EDw3E_4ALyFJl-CCLeW3yoNTann__IW48xgih=s0-d)
- AppDelegate.h และ AppDelegate.m เป็นไฟล์ที่ควบคุมการทำงานของ View การแสดงผลของ View และเหตุการณ์ต่าง ๆ ของในแต่ล่ะ View เราจะเขียนไว้ในนี้
- ViewController.h และ ViewController.m เป็นไฟล์ที่บรรจุคำสั่งหรือ Coding ต่าง ๆ ของ ViewController.xib
- ViewController.xib เป็นไฟล์ใช้สำหรับออกแบบหน้าจอ UI User Interface บนหน้าจอ View หรือหน้าจอ App โดบในการสร้าง View แต่ล่ะครั้งก็จะได้ไฟล์ 3 ตัวคือ .xib , .m และ .h ซึ่งไฟล์ทั้ง 3 ตัวนี้จะทำงานคู่กัน
สังเกตุว่าในโครงสร้างของไฟล์จะประกอบด้วย .m และ .h ซึ่งไฟล์ทั้ง 2 ไฟล์นี้จะทำงานคู่กับ โดย .h คือ header ของไฟล์ ใช้สำหรับกำหนดชื่อ Class คุณสมบัติ Method หรือ Property ต่าง ๆ ส่วนไฟล์ .m คือ Implement Method หรือกำหนดเงื่อนรูปแบบการทำงานของ Class นั้น ๆ
- Supporting Files Folder สำใช้หรับจัดเก็บ Resource อื่น ๆ ของไฟล์ Icon , String , XML หรือ Resource ที่เป็น รูปภาพต่าง ๆ
- Framework เป็น Framework ที่ใช้สำหรับการพัฒนาโปรแกรม ซึ่งเปรียบเหมือน Library ให้เราเรียกใช้
การใช้งานในรูปแบบอื่น ๆ
![Xcode IDE Structure (iOS) Xcode IDE Structure (iOS)](https://lh3.googleusercontent.com/blogger_img_proxy/AEn0k_uXAesB3swl5-pbW1O1Azors4y6xvQVpLSaKZ-VGN-KV-wqTiOLdhP9DpH_yOdorcoPWkecSpIvS941tbfBrA3TOYRoW0zpolrmyXi89C4OQU4f7l0LNKDAosqn0VX-IoppTRTRgjQ7bGQMv1HnubK7Dck=s0-d)
และที่รูปเพื่อย่อขยายมุมมองของ View และรายการ Object ที่อยู่ในหน้า View
![Xcode IDE Structure (iOS) Xcode IDE Structure (iOS)](https://lh3.googleusercontent.com/blogger_img_proxy/AEn0k_s0-rjZoCO66MlP6trnbUu2a05Aco1GIKC5yhhs3JtctCBllaJkxKqukcvev-lTB_biX4rxEH93wL6X_GmjRFJl0Stx0r2fuElLA-qTeVnHUAGc1qgoW-eF2ClPd3PP8qHMuoh1pKtXRCSrIM5J3KzZEWB4=s0-d)
สังเกตุว่าเมื่อมีรายการ Object ที่อยู่บน View จะแสดงรายการ Object Library ต่าง ๆ ที่ถูกเรียกใช้ และแสดงเป็นรายการ เราสามารถเลือกที่ Object ต่าง ๆ เหล่านี้ได้ เพื่อกำหนดคุณสมบัติอื่น ๆ ของ Object
![Xcode IDE Structure (iOS) Xcode IDE Structure (iOS)](https://lh3.googleusercontent.com/blogger_img_proxy/AEn0k_tZmQmYXoCom5mPY0eFUV95bhJ3sjlh7TSQeUcZ1zDqgfWKmw6e1QjU83VzkOYi5S3r-2GBp4-2NlKKwOdgvncbxANJJ7zETaojAWB9rvJWq83Z7l2P4YMJh8tnhtrdwe3rx0nPMEr74zWEkVUnojZa5dY=s0-d)
ส่วนนี้เป็นการแสดงรายการของ Object Library สำหรับใช้ในการออกแบบ Design หน้าขอของ User Interface
![Xcode IDE Structure (iOS) Xcode IDE Structure (iOS)](https://lh3.googleusercontent.com/blogger_img_proxy/AEn0k_uTdOnpFOSHo6LaD_fn_iSK5QddWYR8LeUADqfgwiwfhV9bDmRZ5Hj64ozrphjDAfm-DHVs9Rd1V61P5h-RYT8uPHHYY5KfGvmRMDK9aGOoELFFeAXoPDQ7cSMOeCGOU-x-lNpVJa9hrpE9yML5NLX451Pe=s0-d)
เปลี่ยนมุมมองของ Object Library เพื่อให้ดูง่ายง่าย
![Xcode IDE Structure (iOS) Xcode IDE Structure (iOS)](https://lh3.googleusercontent.com/blogger_img_proxy/AEn0k_s2KF8aq7EpGpEcyPryU32gYowZxZmLy5df3hH8sXlG-o5aDL6mdR2UlotNzjsM1VellmlEXlBwsv2fmt_qIM7AnVBM0KxYSdc-Q5zNc72ebB4RntCNz_gM5wyvdMhZuWioTmYdw7gQs8Om1xZueWpImwLB=s0-d)
อันนี้เป็น Media Library ที่จะสามารถเรียกใช้ได้ สามารถนำเข้ามาได้เช่นเดียวกัน
![Xcode IDE Structure (iOS) Xcode IDE Structure (iOS)](https://lh3.googleusercontent.com/blogger_img_proxy/AEn0k_vvk_RgSTWkaQK10kopwk-W0DRmmrlBp8EpNrnR8RR-PmxCasYCFSxIO_nyCg97BgMFPb-qUPyV0HVDoSFg4615aG2KLE7E6KcwnfAISud3oOo3QWYfFwMqqwsWCW82MOj8mfPaJehf5TFXzM_kFwxm2J09=s0-d)
ส่วนนี้เป็น Inspector ของ Object ใช้สำหรับกำหนดคุณสมบัติ Properties หรือ Attribute ของแต่ล่ะ Object เช่น Label ก็จะสามารถกำหนด สี ขนาด และแก้ไข Font ได้
![Xcode IDE Structure (iOS) Xcode IDE Structure (iOS)](https://lh3.googleusercontent.com/blogger_img_proxy/AEn0k_sXx0mxvx54vg3P7OGG7OEpt3YaKZBRJOVnULoFrCiCCiMvP08NqFeG4M-LEVOJELOs9R-iUqjL10-STUT3DO6zc5gWJHcizyo3_5fmJu7RyuiArj74AVV56RWp79VsuwKTPwXziHPZhHu6NI0Ua1oSrt8Z=s0-d)
คุณสมบัติอื่น ๆ ของ Inspector ของ Object
![Xcode IDE Structure (iOS) Xcode IDE Structure (iOS)](https://lh3.googleusercontent.com/blogger_img_proxy/AEn0k_vpMHj2QYEAkagaQ2qbiRW_O9Bmeg234wQdlDutZsfjyLp3aN9x9TDilUyFseWMlTUbVBz0aWh-PtSH658Q3umKP-SLjQnZNrdSzKnLh8pesd-avVQpPz_ppQuovWwtQSPjpUVvihJpk39NYVKk21i-yoI=s0-d)
จะเห็นว่าการออกแบบหน้าจอ Design ของ View สามารถสร้าง User Interface ต่าง ๆ ได้จาก Object Library ที่มีให้เลือกใช้ได้อย่างง่ายดาย และสามารถเขียนโปรแกรมได้อย่างสวยงาม
![Xcode IDE Structure (iOS) Xcode IDE Structure (iOS)](https://lh3.googleusercontent.com/blogger_img_proxy/AEn0k_sBPzHk5hTT9XEEDCkNhR81M31z4e4K3aHWZx0TQl5JEXKxrqZgcQ8sx4wpJk_tC3kbLCOXNw2HDHhi8jz3EokUly5Td-Tl8rzut0EePwUx1KX61TKXsex9FwTign6mON7axQVOooKTGTicT_cQmL2-uZQ=s0-d)
เมื่อทดสอบบน Simulator จะได้ผลลัพธ์หน้าจอที่สวมงาม
อื่น ๆ เกี่ยวกับ iOS และ Xcode
![Xcode IDE Structure (iOS) Xcode IDE Structure (iOS)](https://lh3.googleusercontent.com/blogger_img_proxy/AEn0k_tLP03ej39KH4pQ9HODdqYhwFY4w-EGwahKrrRd0Vt-XWScvzm-vU3jLR7ZLm1WC3p9D6bfYIXT7c8zZB7c9LaeZPwPjEgdxF8ygwl_xXpZAFCWsiiIcjpecDe5mCzkj8fP0icJY1gWqIhLIbXQ3hppYaPa=s0-d)
ในกรณีที่ต้องการปิด หรือควบคุมการทำงานของ iOS Simulator สามารถคลิกได้ที่นี่
![Xcode IDE Structure (iOS) Xcode IDE Structure (iOS)](https://lh3.googleusercontent.com/blogger_img_proxy/AEn0k_uXTA0NHx_9tnmBIVrvRBhWCylnu4tqggNUaWCPnV0_XhGiUtnws2ZEfYu4iF3vyo1cctJCAom_tKE8OlaE6hsmqTY-GsODTSzPTUI2Nb9q-d3sKygHEPn2y8PYIM34PYsDlyCwYeVO4rB5oQkqJCsQc8I=s0-d)
อันนี้เป็นโฟเดอร์ที่จัดเก็บ ที่ได้สร้างไว้ในตอนแรก
![Xcode IDE Structure (iOS) Xcode IDE Structure (iOS)](https://lh3.googleusercontent.com/blogger_img_proxy/AEn0k_s9z5e9MKIKTODE8M4VO4RUiErfjCBjjIlBlQTJQx_QGmza68WHao4Y02qYHZ75l7iZm17cYi7Avehtn75CsR_KBkeDuHE73M3eU9AQEgI5A2T7NMueTVIcsEoeHzhpuNBuahIMWwWnUA6wv-MYmwwiWhk=s0-d)
ชื่อโฟเดอร์ จะได้ ชื่อเดียวกับ Project
![Xcode IDE Structure (iOS) Xcode IDE Structure (iOS)](https://lh3.googleusercontent.com/blogger_img_proxy/AEn0k_vCxZkJw3NHa-pxyrqqLIpBJxloXAIpraZjVozJFF5w05g7YiPUSGWYGgpJziL6nVoCzKs3oWUd_DeunDr8VLXhooZHDXgorx_CpLulwkIiIwUOPYHB2k2s11OFNwM-ECuqOJJZ_T3-AumAwbBD1K3tB_hl=s0-d)
สามารถเปิด Project ด้วยการดับเบิ้ลคลิกที่ไฟล์ .xcodeproj ได้ในทันที
จากบทความนี้ เราจะได้รู้โครงสร้างพื้นฐานของ Xcode และโครงสร้างของไฟล์ที่จะใช้ในการเขียน iPhone และ iPad ซึ่งในแรก ๆ อาจจะยังสับสนการใช้งานอยู่บ้าง แต่ถ้าเราได้เขียนไปซะพัก ก็จะเริ่มคล่องและง่ายขึ้น และจะเข้าใจได้ว่าส่วนต่าง ๆ ของโปรแกรมมันไม่ได้ยากอย่างที่เห็นในครั้งแรก ๆ เลย
| |
Total Votes: 219Overall Rating: 3.9 / 5
|
| ![](https://lh3.googleusercontent.com/blogger_img_proxy/AEn0k_uCSZiaxPVGjWvOVO6S2ouN6nV-DDBwzVOfogJqPnb7zd-Bb_LljAwJ9V9GB1n4elqefKSWilUNlp5TNmyt_gz4wPwgbPo_GbM0aMcN=s0-d) |
|
|
ช่วยกันสนับสนุนรักษาเว็บไซต์ความรู้แห่งนี้ไว้ด้วยการสนับสนุน Source Code 2.0 ของทีมงานไทยครีเอท |
|
| By : | ThaiCreate.Com Team (บทความเป็นลิขสิทธิ์ของเว็บไทยครีเอทห้ามนำเผยแพร่ ณ เว็บไซต์อื่น ๆ) |
| Score Rating : | ![](https://lh3.googleusercontent.com/blogger_img_proxy/AEn0k_vnW4xSanz6-SVOXjiQu-pgMzbmVMyCwDePpjQz1q-ALrfYR1hxD_rHiza__oPV5O48dPnKw4n2rOxBeJjpYx1nA-N4tJEoHFXXgrxqRdPlvDD7oPUMfaje_g=s0-d) ![](https://lh3.googleusercontent.com/blogger_img_proxy/AEn0k_vnW4xSanz6-SVOXjiQu-pgMzbmVMyCwDePpjQz1q-ALrfYR1hxD_rHiza__oPV5O48dPnKw4n2rOxBeJjpYx1nA-N4tJEoHFXXgrxqRdPlvDD7oPUMfaje_g=s0-d) ![](https://lh3.googleusercontent.com/blogger_img_proxy/AEn0k_vnW4xSanz6-SVOXjiQu-pgMzbmVMyCwDePpjQz1q-ALrfYR1hxD_rHiza__oPV5O48dPnKw4n2rOxBeJjpYx1nA-N4tJEoHFXXgrxqRdPlvDD7oPUMfaje_g=s0-d) | |
| Create/Update Date : | 2012-10-13 09:00:47 / 2012-10-13 19:33:09 |
| Download : | No files |
|
Sponsored Links / Related |
|
|
|
|
|
|
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น